ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ คำขวัญ วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงานของภาควิชา

ประวัติภาควิชาภาควิชาสัตววิทยา
          เดิมรวมอยู่ในแผนกวิชาชีววิทยา สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ซึ่งเป็นคณะที่ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2509 ในขณะนั้นประกอบด้วย 6 แผนกวิชากับ 1 หน่วยงาน คือ แผนวิชาเคมีคณิตศาสตร์ ชีววิทยา ฟิสิกส์ ภาษา สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ และหน่วยพลังงานปรมาณู ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งคณะสังคมศาสตร์ในปี พ.ศ. 2517 และคณะมนุษย์ศาสตร์ในปี พ.ศ. 2524คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2524 แผนกวิชาชีววิทยาได้ยกเลิกไปและออกไป จัดตั้งเป็นภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาพฤกษศาสตร์ ภาควิชาพันธุศาสตร์ ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป และภาควิชาสัตววิทยา


         ดังนั้น ภาควิชาสัตววิทยา จึงได้รับการจัดตั้งเป็นภาควิชาใหม่ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2524 ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งภาควิชาสัตววิทยาเป็นต้นมา มีหัวหน้าภาควิชา ทำหน้าที่บริหารงานภาควิชาเป็นลำดับ ดังน
ี้

ผศ.ละม่อม บุษปวนิช ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2524 - 2530
รศ.ดร.ไพบูลย์ ยุติศรี ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2530 - 2536
รศ.ดร.อนันต์ ศรีขาว ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2536 - 2540
ผศ.พิณทิพย์ กรรณสูตร ดำรงตำแหน่งตั้งแต่   พ.ศ. 2540 - 2549
รศ.สมภพ นวีภาพ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่   พ.ศ. 2549 - 2553
รศ.ดร.บุญเกื้อ วัชรเสถียร ดำรงตำแหน่งตั้งแต่   พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน

สถานที่ทำการ   
              อาคารภาควิชาสัตววิทยา

หลักสูตรที่เปิดสอน            ภาควิชาสัตววิทยาเปิดสอนหลักสูตรต่างๆดังนี้

ระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต(ชีววิทยา) สาขาชีววิทยา
วิทยาศาสตรบัณฑิต(ชีววิทยา) สาขาสัตววิทยา

ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีววิทยา)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตววิทยา)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตววิทยานานาชาติ)
(อยู่ในระหว่างดำเนินการตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8)

ระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สัตววิทยา)

การศึกษา

ภาควิชาสัตววิทยา   ได้แบ่งหมวดวิชาต่างๆ ดังนี้

หลักสูตรชีววิทยา แบ่งออกเป็น 3 หมวดวิชา คือ

1. นิเวศวิทยา
2. ชีววิทยาทั่วไป
3. เซลล์และชีววิทยาโมเลกุล

หลักสูตรสัตววิทยา   แบ่งออกเป็น 7 หมวดวิชา คือ

1. สัตววิทยาทั่วไป
2. กายวิภาคศาสตร์
3. สรีรวิทยา
4. ปรสิตวิทยา
5. นิเวศวิทยาของสัตว์
6. สัตว์มีกระดูกสันหลัง
7. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การทำงานและการศึกษาต่อ
                         บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาฯ  สามารถเข้าทำงานในภาครัฐ  รัฐวิสาหกิจ  องค์กรเอกชน  เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย  กระทรวงศึกษาธิการ   กระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  สวนสัตว์  บริษัทนำเข้าและส่งออก   ประกอบอาชีพส่วนตัว และศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และ เอก  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

งานวิจัย

คณาจารย์ของภาควิชาสัตววิทยามีการค้นคว้าวิจัยในหมวดวิชาต่างๆ

ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เลขที่ 50 พหลโยธิน เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 0-2562-5555 ต่อ 3228 โทรสาร 0-6562-5555 ต่อ 3202